ระบบสารสนเทศ
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยี + สารสนเทศ = เทคโนโลยีสารสนเทศ
เมื่อพิจารณาความหมายของแต่ละคำจะมีความหมายดังนี้
เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ เทคโนโลยีจึงเป็นวิธีการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ข้อมูลดังกล่าวต้องผ่านการเก็บรวบรวม จัดเก็บ ตรวจสอบความถูกต้อง แบ่งกลุ่มจัดประเภทของข้อมูล และสรุปออกมาเป็นสารสนเทศ และมนุษย์นำเอาสารสนเทศนั้นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น รายงาน ผลงานการวิจัย ข่าวสารต่าง ๆ
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึงการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ ฯลฯ
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประวัติกิจการไปรษณีย์ไทย
ไปรษณีย์ในไทยมีประวัติย้อนหลังไปตั้งแต่สมัยสุโขทัย เป็นเส้นทางจดหมายจากสวรรคโลกผ่านสุโขทัยไปยังกำแพงเพชรใช้สำหรับการปกครอง ส่วนบริการไปรษณีย์สำหรับประชาชนทั่วไป มีหลายหน่วยงานเคยที่เปิดให้บริการทางด้านไปรษณีย์ ก่อนที่ไปรษณีย์ไทยของรัฐจะเปิดให้บริการ เช่น บริษัทเอกชน บริษัทเดินเรือ สถานกงสุลของอังกฤษ และ สหรัฐอเมริกาในไทย เป็นต้น โดยเป็นจดหมายส่งไปต่างประเทศ และมีการติดแสตมป์ของประเทศในแถบนี้ เช่น ฮ่องกง อังกฤษ อาณานิคมช่องแคบ (Strait Settlements, ปัจจุบันคือมาเลเซียสิงคโปร์เกาะคริสต์มาส และหมู่เกาะโคโคส์) และ อินดีส์ตะวันออก (East Indies หรือ East India ปัจจุบันได้แก่ อินเดียปากีสถานบังกลาเทศเมียนมาร์ศรีลังกา และ มัลดีฟส์) เป็นต้น ก่อนที่จะส่งทางเรือเดินสมุทรไปยังไปรษณีย์เจ้าของแสตมป์นั้น ๆ เพื่อส่งต่อไปยังจุดหมายปลายทาง
ในปี พ.ศ. 2423 เจ้าหมื่นเสมอใจราช หัวหมื่นมหาดเล็กเวรสิทธิ์ ได้ทำหนังสือกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายคำแนะนำให้เปิดบริการไปรษณีย์ขึ้นใน ประเทศไทย โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริเห็นชอบ จึงทรงแต่งตั้งให้ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษี สว่างวงศ์กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช ผู้ทรงมี ประสบการณ์ เกี่ยวกับการจัดส่งหนังสือพิมพ์รายวัน "ข่าวราชการ" ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกรมไปรษณีย์ เมื่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้า ภาณุรังษีสว่างวงศ์ฯ ได้ทรงวางโครงการและ เตรียมการไว้พร้อมที่จะเปิดบริการไปรษณีย์ได้แล้ว ก็ได้ประกาศเปิดรับฝาก ส่งจดหมายหรือหนังสือ เป็นการทดลองในเขตพระนครและธนบุรีขึ้นเมื่อ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 มีที่ทำการตั้งอยู่ ณ ตึกใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตอนปากคลองโอ่งอ่าง ด้านทิศเหนือ (ปัจจุบันถูกรื้อเพื่อใช้ที่สร้าง สะพานคู่ขนานกับสะพานพุทธ)ที่ทำการแห่งแรกนี้ใช้เป็น ที่ทำการไปรษณีย์สำหรับจังหวัดพระนคร ด้วยเรียกกันว่า "ไปรษณียาคาร"
ต่อมาในปี พ.ศ. 2441 เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการกราบบังคมทูลเสนอความเห็นว่าราชการ ของกรมไปรษณีย์และราชการของกรมโทรเลข ซึ่งตั้งขึ้นก่อนกรมไปรษณีย์แล้วนั้นเป็นงานใน ด้านสื่อสารด้วยกันควรรวมเป็นหน่วยราชการ เดียวกันเสียเพื่อความสะดวกแก่การดำเนินงาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็น เป็นสมควรจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมหน่วยงานทั้งสองเข้าด้วยกันเรียกว่า "กรมไปรษณีย์โทรเลข" ซึ่งต่อมาได้ย้ายไปใช้อาคารและที่ดินริมถนน เจริญกรุงเป็นที่ทำการและเรียกกันโดยทั่วไปว่า "ที่ทำการไปรษณีย์กลาง" การไปรษณีย์ เป็นบริการสาธารณะจำเป็นต้องมีระเบียบข้อบังคับเพื่อให้ประชาชนผู้ใช้บริการและ เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินบริการทราบและถือปฏิบัติเมื่อ เปิดการไปรษณีย์โทรเลขได้ประมาณ 2 ปีแล้ว รัฐบาลจึงได้ตรากฎหมายขึ้นใน ปี พ.ศ. 2428 เรียกว่า "พระราชบัญญัติการไปรษณีย์ไทย จุลศักราช 1248" ต่อมาในปี พ.ศ. 2440 ได้ออกพระราชกำหนดไปรษณีย์ ร.ศ.116 ยกเลิก พระราชบัญญัติฉบับแรกและใช้พระราชกำหนดนี้ตลอดมา จนกระทั่งปรับปรุงใหม่ออกเป็น "พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477" มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการเป็น ผู้รักษาตามพระราชบัญญัติ (ปัจจุบันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นผู้รักษาการ ตามพระราชบัญญัติและพระราชบัญญัติฉบับนี้ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่)
เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 ได้มีการจัดตั้ง “การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.)” ตามพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 โดยรับมอบกิจการด้านปฏิบัติการทั้งหมด รวมถึงการให้บริการไปรษณีย์จากกรมไปรษณีย์โทรเลขมาดำเนินการ โดยมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ใช้สถานที่ปฏิบัติงาน ณ ที่ทำการไปรษณีย์กลาง ต่อมาสำนักงานใหญ่ย้ายมาอยู่ที่ถนนแจ้งวัฒนะ ซึ่ง กสท. ได้ปรับปรุงและพัฒนาบริการให้เจริญก้าวหน้ามาโดยตลอด จนเป็นรัฐวิสาหกิจชั้นนำที่ยิ่งใหญ่ มีศักยภาพเครือข่าย ระบบ และคุณภาพบริการระดับมาตรฐานสากล
จากนโยบายรัฐบาลที่ต้องการแปรสภาพรัฐวิสาหกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้เทียบเท่าภาคเอกชน ซึ่ง กสท. เป็นหนึ่งในรัฐวิสาหกิจที่ต้องดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว โดยเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2546 คณะรัฐมนตรีมีมติให้แปรสภาพ กสท. ตามแผนแม่บทพัฒนากิจการโทรคมนาคม และพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 แยกกิจการเป็น 2 บริษัท คือ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2546
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท.) ยังคงสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตั้งอยู่ที่ อาคารสำนักงานใหญ่ ปณท. ถนนแจ้งวัฒนะ โดยปฏิรูปภาพลักษณ์ใหม่ ปรับปรุงบริการและการให้บริการไปรษณีย์แก่ประชาชนทั่วไปและพัฒนาการให้บริการเชิงธุรกิจ เพื่อให้ ปณท. ก้าวไกล ทันสมัย ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและเอื้อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างต่อเนื่องตลอดไป
แสตมป์สำหรับใช้ที่ไปรษณีย์กงสุลอังกฤษ
ที่ทำการไปรษณีย์ของกงสุลอังกฤษ ถือเป็นไปรษณีย์ที่สำคัญที่สุดก่อนที่มีการให้บริการไปรษณีย์ของไทย สามารถฝากส่งจดหมายไปยังประเทศต่าง ๆ ทั้งในยุโรปและอเมริกา โดยทางเรือไปส่งยังที่ไปรษณีย์สิงคโปร์เพื่อคัดแยกและนำจดหมายส่งต่อจนถึงปลายทาง (กรณีจดหมายไปอเมริกา มีการส่งไปฝากที่ทำการไปรษณีย์ฮ่องกงด้วย)
ไปรษณีย์นี้ตั้งอยู่ภายในกงสุลอังกฤษซึ่งเริ่มให้บริการเพียงหนึ่งปีหลังจากที่ก่อตั้งกงสุลเมื่อ พ.ศ. 2400 ต่อมาในปี พ.ศ. 2425 มีการนำแสตมป์จาก อินดีส์ตะวันออก และ อาณานิคมช่องแคบ มาประทับเครื่องหมาย "B" เพื่อใช้ติดบนซองที่ส่งจากกรุงเทพ ไปรษณีย์นี้ได้ปิดทำการเมื่อ กรกฎาคมพ.ศ. 2428 หลังไทยได้เข้าร่วมสหภาพสากลไปรษณีย์ (Universal Postal Union, UPU) และเริ่มให้บริการไปรษณีย์ไปต่างประเทศ
กงสุลอังกฤษแห่งนี้ปัจจุบันเปลี่ยนไปเป็นที่ทำการไปรษณีย์กลาง บางรัก ส่วนสถานกงสุลย้ายไปตั้งที่ใหม่อยู่บนถนนเพลินจิต
ไปรษณีย์ของรัฐ
ระบบไปรษณีย์ของรัฐ เกิดขึ้นในรัชสมัยของ รัชกาลที่ 5 โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบกิจการไปรษณีย์ในสมัยแรกคือ กรมไปรษณีย์ เปิดให้บริการเป็นครั้งแรก ณ วันที่ 4 สิงหาคมพ.ศ. 2426 กรมไปรษณีย์ในสมัยนั้นอยู่ภายใต้การดูแลของ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วงเดช มีตำแหน่งเป็น ผู้สำเร็จราชการกรมไปรษณีย์ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ไปรษณียาคาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้ปากคลองโอ่งอ่าง ปัจจุบันรื้อทิ้งเพื่อสร้างสะพานพระปกเกล้า (แต่มีการสร้างใหม่ที่ตำแหน่งใกล้เคียงเพื่อเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ในอนาคต)
ในระยะแรกที่ให้บริการ ครอบคลุมเฉพาะกรุงเทพเท่านั้น เมื่อ 27 กรกฎาคมพ.ศ. 2428 จึงเริ่มขยายไปต่างจังหวัดโดยเปิดที่ทำการไปรษณีย์ที่สมุทรปราการและนครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง ในปัจจุบัน) และขยายต่อจนถึงเชียงใหม่ในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน ส่วนบริการไปรษณีย์ระหว่างประเทศ เริ่มเมื่อ 1 กรกฎาคมพ.ศ. 2428 หลังประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกสหภาพสากลไปรษณีย์
ในปี พ.ศ. 2441 กรมไปรษณีย์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมไปรษณีย์โทรเลข หลังจากมีการควบรวมเอา กรมไปรษณีย์ และ กรมโทรเลข ซึ่งดูแลงานด้านโทรเลข เข้าด้วยกัน เมื่อ พ.ศ. 2483 ได้มีการเปิด ที่ทำการไปรษณีย์กลาง ขึ้นบนถนนเจริญกรุงเขตบางรัก และใช้เป็นที่ทำการของกรมไปรษณีย์โทรเลข
ปี พ.ศ. 2520 ได้เปลี่ยนโครงสร้างมาเป็นรัฐวิสาหกิจใช้ชื่อว่า การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.)
และเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2546 มีการปรับโครงสร้างอีกครั้งตามนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยแยกการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็น บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งปัจจุบัน บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เป็นผู้ดูแล บริการด้านไปรษณีย์ทั้งหมด มีสำนักงานใหญ่ที่ถนนแจ้งวัฒนะ
ที่ทำการไปรษณีย์ไทย
ที่ทำการไปรษณีย์เคยมีการให้บริการด้านโทรเลขด้วย ดังนั้นในอดีตจึงใช้คำว่า ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข แทน แต่หลังจากที่งานด้านโทรเลขแยกไปอยู่กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อว่า ที่ทำการไปรษณีย์ ที่ทำการไปรษณีย์มีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับหน้าที่และบริการของแต่ละแห่ง ตัวอย่างเช่น
- ศูนย์ไปรษณีย์ (ศป., mail centre) มีหน้าที่หลักคือ รวบรวมจดหมาย และพัสดุจากที่ทำการไปรษณีย์ต่าง ๆ มาคัดแยก และส่งต่อ หมายถึงส่งไปที่ทำการปลายทาง หรือส่งต่อไปภูมิภาคอื่น ๆ ทางรถยนต์ รถไฟ หรือ เครื่องบิน ตัวอย่างเช่น ศูนย์ไปรษณีย์กรุงเทพ ตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นต้น
- ศูนย์รับฝากไปรษณีย์จำนวนมาก (ศฝ., bulk mail centre) คือไปรษณีย์ที่เน้นรับจดหมายจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีไปรษณีย์ภัณฑ์จำนวนมากแล้วส่งต่อไปยังศูนย์ไปรษณีย์
- ที่ทำการไปรษณีย์ศูนย์กลางจ่าย (ปณศ., delivery post office) หรือ ที่ทำการไปรษณีย์รับจ่าย (ปณจ.) มีหน้าที่ รับฝาก คือ รวบรวมจดหมายจากตู้ไปรษณีย์และจากประชาชนที่มาฝากส่งที่ไปรษณีย์แล้ว ส่งต่อ ไปยังศูนย์ไปรษณีย์ และ นำจ่าย คือรับจดหมายที่มีปลายทางในเขตที่รับผิดชอบจากศูนย์ไปรษณีย์ให้บุรุษไปรษณีย์ไปส่งตามที่อยู่ ที่ทำการลักษณะนี้มักมีรหัสไปรษณีย์ที่ลงท้ายด้วยเลขศูนย์
- ที่ทำการไปรษณีย์รับฝาก (ปณฝ., non-delivery post office) มีหน้าที่ รับฝาก คือ รับจดหมายจากประชาชนที่มาใช้บริการที่ไปรษณีย์หรือจากตู้ไปรษณีย์เท่านั้น มักมีรหัสไปรษณีย์ที่ลงท้ายด้วยเลขอื่นที่ไม่ใช้ศูนย์
- ที่ทำการไปรษณีย์สาขา (ปณส., branch post office) หน้าที่คล้าย ปณฝ. แต่ขึ้นกับ ปณจ. แทนที่จะทำงานเป็นเอกเทศ จดหมายที่รวบรวมได้ทั้งหมดจะส่งต่อไปยัง ปณจ. ต้นสังกัดอีกทีหนึ่ง ไม่มีรหัสไปรษณีย์ของตัวเอง (ใช้รหัสของ ปณจ. ต้นสังกัด) และไม่เปิดให้บริการบางประเภท เช่น บริการรับชำระเงิน เป็นต้น
- ที่ทำการไปรษณีย์อนุญาต (ปณอ., licensed post office) มีทั้งประเภท รับจ่าย (หน้าที่เหมือน ปณจ.) และ รับฝาก (เหมือน ปณฝ.) แต่บริหารโดยหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือ เอกชน ตัวอย่าง เช่น ไปรษณีย์ของชุมชนที่อยู่บนเกาะต่าง ๆ ไปรษณีย์ในสถานศึกษา หน่วยงานราชการ หน่วยงานทหาร บางแห่ง เป็นต้น ไปรษณีย์ดังกล่าวจะใช้ชื่อ ปณจ. ในท้องที่ ตามด้วยตัวเลขสามหลัก เริ่มนับจาก 101 ตัวอย่างเช่น ไปรษณีย์รองเมือง 102 ตั้งอยู่ภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เขตปทุมวัน ซึ่งมี ปณจ. รองเมือง รับผิดชอบนำจ่ายไปรษณีย์ภัณฑ์ในท้องที่ สำหรับ ปณอ. รับจ่าย จะมีรหัสไปรษณีย์ของตัวเอง ส่วน ปณอ. รับฝาก จะใช้รหัสไปรษณีย์ของ ปณจ. ที่รับผิดชอบ
- ที่ทำการไปรษณีย์ชั่วคราว (ปณค., temporary post office) เป็นที่ทำการที่เปิดขึ้นชั่วคราวตามงานต่าง ๆ เช่น งานกาชาด ให้บริการรับฝากไปรษณีย์ภัณฑ์ นิยมใช้รหัสไปรษณีย์ชอง ปณจ. ท้องที่
- ที่ทำการไปรษณีย์รถยนต์ (ปณย., mobile post office) เป็นที่ทำการที่อยู่บนรถบัสขนาดเล็ก ออกวิ่งไปจอดให้บริการตามจุดต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละวันสามารถออกให้บริการได้หลายจุด ให้บริการรับฝากไปรษณีย์ภัณฑ์
ในอดีตประเทศไทยยังเคยมีที่ทำการไปรษณีย์รถไฟด้วย แต่ปัจจุบันยกเลิกแล้ว สำหรับบริษัทเอกชนที่ให้บริการรับฝากไปรษณีย์แต่ไม่เป็นสถานะที่ทำการไปรษณีย์อนุญาต จะเรียกว่า ผู้รวบรวมไปรษณีย์ ซึ่งต้องมีการจดทะเบียนอย่างถูกต้องกับ ปณท.
ในอดีตสมัยที่เป็น กรมไปรษณีย์โทรเลข และ การสื่อสารแห่งประเทศไทย ชื่อประเภทของที่ทำการไปรษณีย์ข้างบนใช้ชื่อว่า ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข แทน ที่ทำการไปรษณีย์ เช่น ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขรับจ่าย (ปทจ.) ยกเว้นที่ทำการไปรษณีย์รถยนต์ ในอดีตเรียก ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเคลื่อนที่ (ปทค.) ส่วนที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขชั่วคราวใช้ชื่อย่อเป็น ปทช.
ศูนย์ไปรษณีย์ไทย
นอกจากบริษัทไปรษณีย์ไทยแล้ว ทางบริษัทได้จัดตั้งศูนย์กระจายไปรษณีย์ 16 แห่งดังนี้
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
- ศูนย์หลักสี่ กรุงเทพมหานคร
- ศูนย์กรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร
- ศูนย์ไปรษณีย์ด่วนพิเศษกรุงเทพ กรุงเทพมหานคร
- ศูนย์สุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ
ภาคกลางและตะวันออก
- ศูนย์นครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
- ศูนย์ศรีราชา จังหวัดชลบุรี
- ศูนย์พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
ภาคเหนือ
- ศูนย์เด่นชัย จังหวัดแพร่
- ศูนย์ลำพูน จังหวัดลำพูน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ศูนย์อุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
- ศูนย์ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
- ศูนย์นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
- ศูนย์อุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
ภาคใต้
- ศูนย์หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
- ศูนย์ทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ศูนย์ชุมพร จังหวัดชุมพร
ในปี พ.ศ. 2423 เจ้าหมื่นเสมอใจราชได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ให้ทรงจัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้นในประเทศสยามพระองค์จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ฯ ทรงเตรียมการจัดตั้งการไปรษณีย์ตามแบบอย่างในต่างประเทศและทรงแต่งตั้งให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ฯดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกรมไปรษณีย์เป็นพระองค์แรกและได้เปิดรับฝากส่งหนังสือ(จดหมาย)ในเขตพระนครและธนบุรีเป็นการทดลองเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 ที่ทำการแห่งแรกตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตอนปากคลองโอ่งอ่างเรียกว่า "ไปรษณียาคาร"
ในปี พ.ศ. 2429 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้รับโอนกิจการโทรศัพท์จากกระทรวงกลาโหมมาดำเนินการและขยายบริการ เปิดให้ประชาชนได้เช่าใช้เครื่องโทรศัพท์ภายในกรุงเทพและธนบุรีเป็นครั้งแรก
ใน ปี พ.ศ. 2441 ได้ทรงให้รวมกรมโทรเลขซึ่งได้ก่อตั้งมาก่อนหน้านี้เข้ากับกรมไปรษณีย์ใช้ชื่อใหม่ว่า "กรมไปรษณีย์โทรเลข"ดำเนินกิจการไปรษณีย์และโทรเลขและได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่ถนนเจริญกรุงกรมไปรษณีย์โทรเลขในขณะนั้น ดำเนินกิจการหลัก ๆ อยู่ 3 กิจการ คือ กิจการไปรษณีย์กิจการโทรเลข กิจการโทรศัพท์
ในปี พ.ศ. 2472 ได้รับโอนคลังออมสินจากกรมพระคลังมหาสมบัติ มาดำเนินการรับฝากเงินจากประชาชนเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2472
ในปี พ.ศ. 2489 ได้แยกกองคลังออมสินออกจากกรมไปรษณีย์โทรเลขมาจัดตั้งเป็นธนาคารออมสินมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ และเปิดดำเนินการรับฝากเงินจากประชาชนตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2490 เป็นต้นมา
ในปี พ.ศ. 2497 ได้โอนกิจการโทรศัพท์กรุงเทพฯและธนบุรีให้องค์การโทรศัพท์แห่งประทศไทย
ในปี พ.ศ. 2520 ได้มีการจัดตั้ง การสื่อสารแห่งประทศไทย โดยพรบ.การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคมโดยรับมอบกิจการด้านปฏิบัติการและกิจการให้บริการไปรษณีย์จากกรมไปรษณีย์โทรเลขมาดำเนินการเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2520 และได้ปรับปรุงพัฒนาบริการมาตลอด
ในปี พ.ศ. 2546 ได้แปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2546 ใช้ชื่อใหม่ว่า บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัดตามนโยบายของรัฐบาล แต่ยังคงสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่เหมือนเดิมและได้เปลี่ยนมาสังกัดกระทรวงเทคโนโลยี่สารสนเทศและการสื่อสารและได้พัฒนาปรับปรุงบริการโดยนำระบบเทคโนโลยี่สารสนเทศมาใช้ในการให้บริการและยังได้พัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
ในปีพ.ศ. 2423 เจ้าหมื่นเสมอใจราชได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ให้ทรงจัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้นในประเทศสยามพระองค์จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ฯ ทรงเตรียมการจัดตั้งการไปรษณีย์ตามแบบอย่างในต่างประเทศและทรงแต่งตั้งให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ฯดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกรมไปรษณีย์เป็นพระองค์แรกและได้เปิดรับฝากส่งหนังสือ(จดหมาย)ในเขตพระนครและธนบุรีเป็นการทดลองเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 ที่ทำการแห่งแรกตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตอนปากคลองโอ่งอ่างเรียกว่า "ไปรษณียาคาร"
ในปี พ.ศ. 2429 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้รับโอนกิจการโทรศัพท์จากกระทรวงกลาโหมมาดำเนินการและขยายบริการ เปิดให้ประชาชนได้เช่าใช้เครื่องโทรศัพท์ภายในกรุงเทพและธนบุรีเป็นครั้งแรก
ใน ปี พ.ศ. 2441 ได้ทรงให้รวมกรมโทรเลขซึ่งได้ก่อตั้งมาก่อนหน้านี้เข้ากับกรมไปรษณีย์ใช้ชื่อใหม่ว่า "กรมไปรษณีย์โทรเลข"ดำเนินกิจการไปรษณีย์และโทรเลขและได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่ถนนเจริญกรุงกรมไปรษณีย์โทรเลขในขณะนั้น ดำเนินกิจการหลัก ๆ อยู่ 3 กิจการ คือ กิจการไปรษณีย์กิจการโทรเลข กิจการโทรศัพท์
ในปี พ.ศ. 2472 ได้รับโอนคลังออมสินจากกรมพระคลังมหาสมบัติ มาดำเนินการรับฝากเงินจากประชาชนเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2472
ในปี พ.ศ. 2489 ได้แยกกองคลังออมสินออกจากกรมไปรษณีย์โทรเลขมาจัดตั้งเป็นธนาคารออมสินมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ และเปิดดำเนินการรับฝากเงินจากประชาชนตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2490 เป็นต้นมา
ในปี พ.ศ. 2497 ได้โอนกิจการโทรศัพท์กรุงเทพฯและธนบุรีให้องค์การโทรศัพท์แห่งประทศไทย
ในปี พ.ศ. 2520 ได้มีการจัดตั้ง การสื่อสารแห่งประทศไทย โดยพรบ.การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคมโดยรับมอบกิจการด้านปฏิบัติการและกิจการให้บริการไปรษณีย์จากกรมไปรษณีย์โทรเลขมาดำเนินการเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2520 และได้ปรับปรุงพัฒนาบริการมาตลอด
ในปี พ.ศ. 2546 ได้แปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2546 ใช้ชื่อใหม่ว่า บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัดตามนโยบายของรัฐบาล แต่ยังคงสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่เหมือนเดิมและได้เปลี่ยนมาสังกัดกระทรวงเทคโนโลยี่สารสนเทศและการสื่อสารและได้พัฒนาปรับปรุงบริการโดยนำระบบเทคโนโลยี่สารสนเทศมาใช้ในการให้บริการและยังได้พัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ภาณุรังษี สว่างวงศ์กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ผู้สำเร็จราชการกรมไปรษณีย์พระองค์แรก
ไปรษณียาคาร ที่ทำการไปรษณีย์แห่งแรกของไทย
จุดเริ่มต้นของการสื่อสารในสมัยก่อนนั้น เกิดจากการสร้างเส้นทางคมนาคมและเส้นทางการค้า โดยมีการติดต่อข่าวสารกันอย่างง่าย ทั้งผ่านทางพ่อค้า ใช้ม้าเร็ว จนถึงการจัดตั้งคนเร็วไว้ตามเมืองสำคัญ ก็ถือเป็นพัฒนาการทางการส่งข่าวสารอย่างง่ายอีกช่องทางหนึ่งและเป็นเช่นนี้เรื่อยมาจนถึงยุคสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
จนมาถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรก ที่สนพระทัยในการเขียนจดหมายโต้ตอบเป็นภาษาอังกฤษ และทรงใช้ การไปรษณีย์ในการติดต่อกับประมุขและบุคคลทั้งภายในและภายนอกประเทศ นับเป็นกุศโลบายอันเฉียบแหลมในการเจริญสัมพันธไมตรีกับมิตรประเทศ
จนสามารถนำรัฐนาวาสยามฝ่าฟันวิกฤต ไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของเหล่าประเทศมหาอำนาจในสมัยนั้น
ด้วยเหตุนี้ "กิจการไปรษณีย์ไทย" จึงถือกำเนิดในรูปแบบต่างๆ การจัดทำตั๋วแสตมป์สำหรับการส่งหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยครั้งแรก ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นกิจการไปรษณีย์ภายในกรุงเทพฯ นับแต่นั้นเป็นต้นมา
ด้วยความสำคัญ และประโยชน์ของการส่งข่าวสารนี้เอง ที่ทำให้รัฐบาลสยาม เตรียมการจัดตั้งกิจการไปรษณีย์ในกรุงเทพฯ นับเป็นการเข้าสู่ยุคของการไปรษณีย์อย่างแท้จริง
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือเป็นยุคแรกของ การไปรษณีย์ไทย ด้วยการจัดตั้งกรมไปรษณีย์ในประเทศไทย และการผลิต "แสตมป์ชุดโสฬส" แสตมป์ชุดแรกของประเทศ รวมไปถึงจัดพิมพ์ไปรษณียบัตรครั้งแรก เพื่อรองรับกิจการไปรษณีย์ที่เกิดขึ้น
ในขณะนั้นอีกด้วยกิจการไปรษณีย์ของคนไทยในยุคสมัยนั้น มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการต่างๆ เพื่องานไปรษณีย์ในทุกด้าน ทั้งการเข้าร่วมกับกลุ่มสหภาพสากลไปรษณีย์ เพื่อให้สามารถขนส่งและแลกเปลี่ยนไปรษณียภัณฑ์กับต่างประเทศได้
และเพื่อจัดเตรียมบุคลากรเข้าศึกษาและฝึกงานด้านไปรษณีย์สำหรับเข้าทำงานในกรมไปรษณีย์อย่างมีประสิทธิภาพ ในเวลาต่อมาได้จัดตั้งโรงเรียนไปรษณีย์และคมนาคมขึ้น รวมไปถึงการขยายกิจการไปรษณีย์ ด้วยการจัดสร้างที่ทำการไปรษณีย์แห่งที่ 2 อีกด้วย
แม้ว่าเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงใดๆ ก็ตาม กรมไปรษณีย์ก็ไม่หยุดให้บริการแก่ประชาชน เพราะเล็งเห็นถึงความสำคัญของการติดต่อสื่อสาร เช่นเดียวกับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กรมไปรษณีย์โทรเลขก็ไม่เคยหยุดทำการเช่นกัน
จากการมีส่วนร่วมในการประชุมองค์การสากลระหว่างประเทศหลายครั้ง ทำให้มีการปรับเปลี่ยนงานด้านองค์กรและด้านบริการอย่างต่อเนื่อง โดยกระทรวงโยธาธิการ ประกาศให้รวมกรมไปรษณีย์และกรมโทรเลขเข้าด้วยกัน เรียกว่า "กรมไปรษณีย์โทรเลข" เพื่อให้การบริหารราชการดำเนินไปอย่างสะดวกขึ้น
การพัฒนางานไปรษณีย์ในยุคนั้น อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงโยธาธิการ ซึ่งได้ดำเนินการทำหนังสือสัญญาเส้นขนส่งถุงไปรษณีย์ครอบคลุมทุกเส้นทางคมนาคม เป็น การรองรับความสะดวก และรวดเร็วของการส่งไปรษณียภัณฑ์ได้อย่างทั่วถึง
กิจการสื่อสารไทยนั้น ได้รับการพัฒนาและขยายบริการให้ครอบคลุมอย่างไม่หยุดยั้งและกว้างขวางมากที่สุดในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มจากการเปิดที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขครบ 18 มณฆลทั่วประเทศ การใช้รถยนต์ขนส่งไปรษณียภัณฑ์ และการเปิดเส้นทางขนส่งไปรษณียภัณฑ์ทางอากาศในประเทศ
เนื่องจากกิจการของกรมไปรษณีย์โทรเลขในช่วงนั้นได้ขยายงานอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องย้ายจากตึกไปรสนียาคารมารวมกับที่ทำการไปรษณีย์แห่งที่ 2 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ที่ทำการไปรษณีย์กลาง" ดังปรากฏจนถึงปัจจุบัน
เมื่อเข้าสู่รอยต่อครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองปกครองระดับประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้นกรมไปรษณีย์โทรเลขต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอีกหลายครั้ง โดยเฉพาะการแก้ไขปรับปรุงและตรากฎหมายขึ้นมาบังคับใช้หลายฉบับ รวมไปถึงการจัดส่วนราชการตามพระราชกฤษฎีกา เพื่อแยกงานด้านต่างๆ ที่เคยอยู่ภายใต้กรมไปรษณีย์โทรเลข มาจัดตั้งเป็นหน่วยงานเอกเทศ
ความพยายามที่จะปรับปรุงกิจการ ให้มีความคล่องตัว ในระบบการบริหาร เพื่อให้เกิดการบริการที่มีประสิทธิภาพ จนเกิดการพลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของกรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อมีประกาศใช้พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 เพื่อแยกงานระดับปฏิบัติการออกไป และจัดตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นรัฐวิสาหกิจตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
การดำเนินงานในรูปแบบรัฐวิสาหกิจภายใต้ชื่อ "การสื่อสารแห่งประเทศไทย" ยังคงสืบสานเจตนารมณ์ที่จะทำให้การติดต่อสื่อสารทั้งไปรษณีย์และโทรคมนาคมของไทย มีความเจริญพัฒนาก้าวไกล มีส่วนเสริมสร้างเศรษฐกิจและวิถีชีวิตของคนไทย โดยกรมไปรษณีย์โทรเลขยังคงมีสถานะเป็นหน่วยงานราชการที่ทำหน้าที่ด้านนโยบาย และบริหารคลื่นความถี่วิทยุเช่นเดิม
ติดต่อสื่อสารทั้งไปรษณีย์และโทรคมนาคมของไทย มีความเจริญพัฒนาก้าวไกล มีส่วนเสริมสร้างเศรษฐกิจและวิถีชีวิตของคนไทย โดยกรมไปรษณีย์โทรเลขยังคงมีสถานะเป็นหน่วยงานราชการที่ทำหน้าที่ด้านนโยบาย และบริหารคลื่นความถี่วิทยุเช่นเดิม
ตลอดระยะเวลา 25 ปี ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม กสท. ไม่เคยหยุดนิ่งต่อการพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สร้างระบบเชื่อมโยงเครือข่าย พัฒนาคุณภาพบริการสื่อสารทั้งด้านไปรษณีย์และโทรคมนาคม ดังคำขวัญที่ว่า "เครือข่ายทั่วไทย โยงใยทั่วโลก" และเพื่อรองรับความก้าวหน้าที่พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง จึงเกิดอาคารสำนักงานใหญ่ที่ ถนนแจ้งวัฒนะ หลักสี่ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529
วันนี้กิจการไปรษณีย์ได้ก้าวมาถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญอีกช่วงหนึ่งคือการแปลงสภาพการสื่อสารแห่งประเทศไทย มาจัดตั้งเป็นบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และ บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจภายใต้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2546
นับเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของประวัติศาสตร์การไปรษณีย์อีกครั้งหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของพนักงานที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และร่วมมือกันอย่างเต็มกำลังความสามารถ เพื่อการปฏิรูปกิจการไปรษณีย์ นำสู่บริการที่ตอบสนองทุกความต้องการของประชาชน เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน มีรายได้ที่เลี้ยงตัวเองเองได้ตลอดไป
ปัจจุบัน บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด มุ่งมั่นในการเป็นผู้นำธุรกิจไปรษณีย์และให้บริการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองทุกความต้องการของธุรกิจและคนไทยในทุกระดับ ทุกพื้นที่ ด้วยศักยภาพของเครือข่ายที่ทำการไปรษณีย์กว่า 1,200 แห่ง และศูนย์ไปรษณีย์ 13 แห่ง ทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาค พร้อมด้วยบุคลากรที่ชำนาญงาน ตลอดจนเครื่องมืออันทันสมัย และ การพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่ง เพื่อเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายไปรษณีย์ทั่วทุกมุมโลก
กิจการไปรษณีย์จึงพร้อมเป็นผู้เชื่อมโยงที่ดีที่สุด ด้วยบริการที่มีคุณภาพ ตอบสนองทุกความต้องการได้อย่างตรงจุด
ใน ปี พ.ศ. 2423 เจ้าหมื่นเสมอใจราช หัวหมื่นมหาดเล็กเวรสิทธิ์ ได้ทำหนังสือกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายคำแนะนำให้เปิดบริการไปรษณีย์ขึ้นใน ประเทศไทย โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริเห็นชอบ จึงทรงแต่งตั้งให้ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษี สว่างวงศ์กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช ผู้ทรงมี ประสบการณ์ เกี่ยวกับการจัดส่งหนังสือพิมพ์รายวัน "ข่าวราชการ" ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกรมไปรษณีย์
เมื่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้า ภาณุรังษีสว่างวงศ์ฯ ได้ทรงวางโครงการและ เตรียมการไว้พร้อมที่จะ เปิดบริการไปรษณีย์ ได้แล้ว ก็ได้ประกาศเปิดรับฝาก ส่งจดหมายหรือหนังสือ เป็นการทดลองในเขต พระนครและธนบุรีขึ้นเมื่อ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 มีที่ทำการตั้งอยู่ ณ ตึกใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตอนปากคลองโอ่งอ่าง ด้านทิศเหนือ (ปัจจุบันถูกรื้อเพื่อใช้ที่สร้าง สะพานคู่ขนานกับสะพานพุทธ) ที่ทำการแห่งแรกนี้ใช้เป็น ที่ทำการไปรษณีย์สำหรับจังหวัดพระนคร ด้วยเรียกกันว่า "ไปรษณียาคาร"
ต่อมาในปี พ.ศ. 2441 เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการกราบบังคมทูล เสนอความเห็นว่าราชการ ของกรมไปรษณีย์และราชการของกรมโทรเลข ซึ่งตั้งขึ้นก่อนกรมไปรษณีย์แล้วนั้นเป็นงานใน ด้านสื่อสารด้วยกันควรรวมเป็นหน่วยราชการ เดียวกันเสียเพื่อความสะดวกแก่การดำเนินงาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็น เป็นสมควรจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมหน่วยงานทั้งสองเข้าด้วยกันเรียกว่า "กรมไปรษณีย์โทรเลข"
ต่อมาได้ย้ายไปใช้อาคารและที่ดินริมถนน เจริญกรุงเป็นที่ทำการและเรียกกันโดยทั่วไปว่า "ที่ทำการไปรษณีย์กลาง" การไปรษณีย์ เป็นบริการสาธารณะจำเป็นต้องมีระเบียบข้อบังคับเพื่อให้ประชาชนผู้ใช้บริการและ เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินบริการทราบและถือปฏิบัติเมื่อ เปิดการไปรษณีย์โทรเลขได้ประมาณ 2 ปีแล้ว รัฐบาลจึงได้ตรากฏหมายขึ้นใน ปี พ.ศ. 2428 เรียกว่า "พระราชบัญญัติการไปรษณีย์ไทย จุลศักราช 1248"
เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 ได้มีการจัดตั้ง "การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.)" ตามพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 โดยรับมอบกิจการด้านปฏิบัติการทั้งหมด รวมถึงการให้บริการไปรษณีย์จากกรมไปรษณีย์โทรเลขมาดำเนินการ โดยมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ใช้สถานที่ปฏิบัติงาน ณ ที่ทำการไปรษณีย์กลาง ต่อมาสำนักงานใหญ่ย้ายมาอยู่ที่ถนนแจ้งวัฒนะ ซึ่ง กสท. ได้ปรับปรุงและพัฒนาบริการให้เจริญก้าวหน้ามาโดยตลอด จนเป็นรัฐวิสาหกิจชั้นนำที่ยิ่งใหญ่ มีศักยภาพเครือข่าย ระบบ และคุณภาพบริการระดับมาตรฐานสากล
จากนโยบายรัฐบาลที่ต้องการแปรสภาพรัฐวิสาหกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้เทียบเท่าภาคเอกชน ซึ่ง กสท. เป็นหนึ่งในรัฐวิสาหกิจที่ต้องดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว โดยเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2546 คณะรัฐมนตรีมีมติให้แปรสภาพ กสท. ตามแผนแม่บทพัฒนากิจการโทรคมนาคม และพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 แยกกิจการเป็น 2 บริษัท คือ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2546
1 ) รักษาสถานะความเป็นผู้นำในบริการรับ-ส่งข่าวสารสิ่งของและบริการการเงินที่มีเครือข่าย
ครอบคลุมทั่วประเทศและมีมาตรฐานสากล เพื่อเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารและการ
ดำเนินธุรกิจทั้งในและระหว่างประเทศที่มีประสิทธิภาพ
2 ) ขยายขอบเขตของบริการและแสวงหาโอกาสในการดำเนินธุรกิจด้วยการตอบสนองความ
ต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้าเพื่อวางรากฐานให้สามารถดำเนินกิจการต่อเนื่องต่อไป
ในสภาวะการแข่งขันที่รุนแรงยิ่งขึ้นได้อย่างมั่นคงและสามารถนำเครือข่ายไปรษณีย์มาใช้ให้
เกิดประโยชน์สูงสุด
3 ) ยกระดับการบริหารจัดการขององค์กรสู่มาตรฐานสากลเพื่อเตรียมความ
พร้อมรองรับการแข่งขันที่จะทวีความรุนแรงขึ้นในอนาคต โดยการใช้ประโยชน์
จากเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดภาระค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ
และการบริหารงานรวมทั้งพัฒนาระบบการบริหารการจัดการภายในให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
4 ) ปรับปรุงและพัฒนากิจการอย่างดีต่อเนื่องเพื่อให้ ปณทอยู่ในสถานะที่เลี้ยงตัวเอง
ได้อย่างยั่งยืน โดยควบคุมธุรกิจความสามารถในการสร้างผลกำไรในระยะสั้นควบคู่
ไปกับการแสวงหาโอกาสในการดำเนินธุรกิจในรูปแบบใหม่ๆ ตามความต้องการของผู้
1 )เพื่อให้บริการที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลและแสวงหาโอกาสในการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ
2 ) เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีในองค์กรทุกระดับมีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้
3 ) เพื่อวางรากฐานการพัฒนาองค์กรในระยะเวลา 5 ปี ข้างหน้า ให้สามารถดำเนินธุรกิจภายใต้ภาวะการแข่งขันได้อย่างมั่นคงโดยพัฒนาบุคลากรให้สามารถเรียนรู้และทำงานในรูปแบบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านการให้บริการ ให้บริการไปรษณีย์และธุรกิจที่เกี่ยวข้องต่อเนื่องที่มีคุณภาพดี รวดเร็ว ตรงเวลา ในอัตราค่าบริการเหมาะสม
* ด้านการตลาดมุ่งเน้นการตลาดเชิงรุกเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าทุกระดับ
* ด้านการเงินและการลงทุนดำเนินการให้พึ่งตนเองได้ในด้านการเงินและสามารถลงทุนขยายงานต่อไปในอนาคต
* ด้านบุคลากร บริหารบุคลากรให้มีประสิทธิภาพและส่งเสริมให้มีสวัสดิการด้านต่าง ๆอย่างเหมาะสม
* ด้านการบริหารและการจัดการพัฒนาการบริหารจัดการให้เอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินงานในเชิงธุรกิจ
คณะกรรมการ
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล |
ประธานกรรมการ |
อายุ 51 ปี
คุณวุฒิการศึกษา
ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต Angelo State , Texas , สหรัฐอเมริกา
ปริญญาตรี บัญชีบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตำแหน่งปัจจุบัน
ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะกระทรวงการคลัง
นายสุชาติ บุญบรรเจิดศรี | |
รองประธานกรรมการ |
อายุ 50 ปี
คุณวุฒิการศึกษา
ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การเงินและการตลาด) ทุนธนาคารกสิกรไทย Wharton School ,University of Pennsylvania , สหรัฐอเมริกา
ปริญญาตรี เศรษฐศาสตรบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตำแหน่งปัจจุบัน
ประธานกรรมการ บริษัทแพรคติคัม เอนจิเนียริ่ง จำกัด
นางเบญจวรรณ สร่างนิทร | ||
กรรมการ | ||
|
นายสุรพล สุประดิษฐ์ |
กรรมการ |
อายุ 58 ปี
คุณวุฒิการศึกษา
ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต เนติบัณฑิตไทยสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
ปริญญาตรี
1) นิติศาสตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2) เศรษฐศาสตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ตำแหน่งปัจจุบัน
ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี กรมสรรพสามิต
นางพรรณขนิตตา บุญครอง | |||||
กรรมการ | |||||
| |||||
| | ||||
นายสุรสิทธิ์ อัศดามงคล | |||||
กรรมการ | |||||
อายุ 54 ปี
คุณวุฒิการศึกษา
ปริญญาเอก
1) คณะแพทยศาสตร์ศัลยกรรมตกแต่งใบหน้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2) แพทย์เฉพาะทางโสตศอนาสิกโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์
ปริญญาโท คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปริญญาตรี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำแหน่งปัจจุบัน
ประธานกรรมการบริหาร โรงพยาบาลบางมด
นายประพันธ์ บุณยเกียรติ |
กรรมการ |
อายุ 54 ปี
คุณวุฒิการศึกษา
ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ปริญญาตรี รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ตำแหน่งปัจจุบัน
ประธานกรรมการ บริษัท เมดิ เจอร์นัล จำกัด
นายภัคจิต สุเภากิจ |
กรรมการ |
อายุ 46 ปี
คุณวุฒิการศึกษา
ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต University of New Haven , Connecticut, สหรัฐอเมริกา
ปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตำแหน่งปัจจุบัน
กรรมการบริษัท เอ็น.จี.กรุ๊ปจำกัด
นางสาวณิชยา พหูสูตร |
กรรมการ |
อายุ 30 ปี
คุณวุฒิการศึกษา
ปริญญาโท MSc. in Risk Management , Operation and Regulation , Upper Second Class Honour University of Reading (International Securities&Market Association Centre) Reading , สหราชอาณาจักร
ปริญญาตรี BSc. in Economics , Upper Second Class Honour University of London , Queen Mary College , London , สหราชอาณาจักร
ตำแหน่งปัจจุบัน
กรรมการผู้จัดการ บริษัท พิ๊งค์ คาเฟ่จำกัด
|
อายุ 29 ปี
คุณวุฒิการศึกษา
ปริญญาโท เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาเศรษฐศาสตร์แรงงานและการจัดการทรัพยากรมนุษย์)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต (เกียรตินิยม) Carnegie Mellon University , สหรัฐอเมริกา
ตำแหน่งปัจจุบัน
ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนอยุธยา จำกัด
นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ |
กรรมการ |
อายุ 59 ปี |
ผู้บริหาร
นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ - บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | |||
|
น.ส. อานุสรา จิตต์มิตรภาพ |
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ |
-นิเทศศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ปริญญาบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
- นิติศาสตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นางสมใจ โฆสรัสวดี |
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ |
- อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อักษรศาสตรบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นางสมร เปลี่ยนทรงดี |
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ |
- บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การเงิน) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- วิทยาศาสตร์บัณฑิต (สถิติ)มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นายปิยะวัตร์ มหาเปารยะ |
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ |
- การจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต (รอ.ม) คณะรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิตสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- บริหารธุรกิจบัณฑิตมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช
- Postal Management Course, The Asisn and Pacific Postal Training Center : APPTC
นายชินทัต หิรัญญะเวช | ||
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ | ||
|
นายวิเวก บุญนำ |
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ |
- พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ศิลปศาสตรบัณฑิตวิทยาลัยครูนครราชสีมา
นางพรทิพย์ เนียมหอม |
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ |
-อักษรศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ประกาศนียบัตรชั้นสูงวิชาประวัติศาสตร์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- หลักสูตร Postal Management Course APPTC
- หลักสูตร Postal Management Breme Germany Stockholm Sweden
- Execusive Management Academy University Of California Los Angeles Ucla (UCLA EXTENTION)
นางเธียรทิพย์ ไชยชิต |
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ |
- DIPLOME ENS.PTTEcole Nationale Superieure des P.T.T. |
นายณรงค์เวทย์ ชมทรัพย์ | ||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ | ||||||||||||||||||||||||||||
|
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการณ เคาน์เตอร์ รับฝากโดย การติดตั้งและพัฒนาระบบ โปรแกรมเคาน์เตอร์ไปรษณีย์อัตโนมัติ ทั่วประเทศ ประมาณ1,200 ที่ทำการ เปิดให้บริการในรูปแบบ One Stop Service ลูกค้าสามารถใช้บริการได้ทุกประเภทในทุกช่องบริการ
แผนงานปรับปรุงระบบนำจ่ายไปรษณีย์ระยะที่ 2
เพื่อพัฒนาระบบนำจ่ายไปรษณีย์และยกระดับคุณภาพบริการไปรษณีย์รวมทั้งขจัดปัญหาไปรษณีย์ ตกค้างโดยการปรับปรุงระบบการนำจ่ายไปรษณีย์ของที่ทำการไปรษณีย์ต่างๆ จำนวนทั้งสิ้น 550 ที่ทำการ
แผนพัฒนาระบบไปรษณีย์ออนไลน
ปรับเปลี่ยนระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศประมาณ 1,200 ที่ทำการ กับศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร บริษัท ไปรษณีย์ไทยจำกัด จากระบบออฟไลน์ผ่านคู่สายโทรศัพท์เป็นระบบออนไลน์ผ่านเครือข่ายความเร็วสูง
แผนพัฒนาระบบติดตามและตรวจสอบสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ (Track & Trace)
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามและตรวจสอบสิ่งของต่างๆ ที่จัดส่งทางไปรษณีย์ ให้ลูกค้าสามารถ ติดตามสถานะได้ว่าอยู่สถานที่ใดและคาดหมายกำหนดวันส่งถึงมือผู้รับได้ และสามารถติดตามและตรวจสอบผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา
แผนส่งเสริมการให้บริการรับชำระเงิน PAY AT POST
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรับเป็นตัวแทนรับชำระเงินให้แก่หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานธุรกิจต่างๆเพิ่มมากขึ้น
แผนติดตั้งตู้จำหน่ายหวยออนไลน์ เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการซื้อหวยออนไลน์โดยที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศเป็นเครือข่ายของ
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจำหน่ายหวยออนไลน์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากมีเครือข่าย ทั่วประเทศมีความพร้อมด้านสถานที่และระบบเครือข่ายออนไลน์
แผนจัดตั้งเฟรนไชส์ไปรษณีย์ เพื่อให้บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด มีสาขาในการให้บริการเพิ่มขึ้นอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการโดยให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมให้บริการไปรษณีย์ในรูปแบบธุรกิจเฟรสไชส์ ไปรษณีย์ซึ่งจะออกแบบให้มี รูปแบบทันสมัยมีเอกลักษณ์เฉพาะ
แผนพัฒนาการให้บริการรับส่งของพร้อมเก็บเงินที่บ้าน
เพื่ออำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของลูกค้าผู้ใช้บริการในการส่งสิ่งของ / สินค้าไปให้แก่ผู้รับปลายทาง ซึ่งที่ทำการไปรษณีย์จะนำสิ่งของ / สินค้าไปส่งพร้อมเก็บเงินถึงบ้านโดยไม่ต้องเดินทางไปรับสิ่งของและจ่ายเงิน ณที่ทำการไปรษณีย์ รวมถึงเป็นการเพิ่มศักยภาพในการจำหน่ายสินค้าชุมชุน 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ และสินค้าอื่นๆ ของผู้ประกอบการให้มีช่องทางในการจัดจำหน่ายได้สะดวกและคล่องตัวยิ่งขึ้นในการส่งสิ่งของ /สินค้าและเก็บเงินปลายทาง
แผนดำเนินงานบริการรับส่งและกระจายสิ่งของ / สินค้า (Logistics)
สนองนโยบายของรัฐบาลที่ให้กิจการไปรษณีย์ขยายขอบเขตบริการไปสู่ภาคธุรกิจในการรับส่งและกระจายสิ่งของ / สินค้า สนับสนุนโครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ ของรัฐบาลและสนองความต้องการของลูกค้าที่มีความต้องการฝากส่งสิ่งของที่มีขนาดใหญ่หรือน้ำหนักมากกว่าที่มีการให้บริการอยู่ในปัจจุบัน
แผนการจัดจำหน่ายสินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ ณที่ทำการไปรษณีย์
โดยความร่วมมือกับการไปรษณีย์ในประเทศต่างๆ ปณท มีเครือข่ายไปรษณีย์ครอบคลุมกว่า 221 ประเทศ ทั่วโลก
เครือข่ายไปรษณีย์ในประเทศไทย
ที่ทำการไปรษณีย์1,194 แห่ง
•ศูนย์ไปรษณีย์ 16 แห่ง
•ศูนย์รับฝากไปรษณีย์จำนวนมาก 6 แห่ง
•ที่ทำการรับ-จ่าย 955 แห่ง
•ที่ทำการรับฝาก 199 แห่ง
•ที่ทำการไปรษณีย์สาขา 6 แห่ง
•ที่ทำการไปรษณีย์รถยนต์ 12 แห่ง
•ที่ทำการไปรษณีย์ภัณฑ์คืน1 แห่ง
ที่ทำการไปรษณีย์อนุญาต 3,421 แห่ง
ร้านจำหน่ายตราไปรษณียากร2,202 แห่ง
ตัวแทนจำหน่ายตราไปรษณียากร 2,200 แห่ง
ตู้ไปรษณีย์ 28,776 แห่ง
1.กิจกรรม “ตะลุยโลกแสตมป์” ไปรษณีย์ไทยได้จัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังให้เยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ด้วยการสะสมตราไปรษณียากรและเป็นการเปิดโลกกว้างเพิ่มพูนความรู้ได้อย่างไม่สิ้นสุด
3.กิจกรรมค่ายเยาวชน “ไปรษณีย์ไทยแคมป์ 2551 ค่ายเยาวชนไทยผนึกหัวใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ส่งเสริมให้เยาวชนเรียนรู้โลกของไปรษณีย์และตราไปรษณียากรไทยผ่านกิจกรรมสนุกและสร้างสรรค์อันหลากหลาย รวมทั้งปลูกฝังเยาวชนให้รักษ์ธรรมชาติและเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาโลกร้อนโดยมุ่งให้เยาวชนได้ลงมือปฏิบัติเรียนรู้ด้วยตนเองและประสบการณ์จริง
3.กิจกรรมค่ายเยาวชน “ไปรษณีย์ไทยแคมป์ 2551 ค่ายเยาวชนไทยผนึกหัวใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ส่งเสริมให้เยาวชนเรียนรู้โลกของไปรษณีย์และตราไปรษณียากรไทยผ่านกิจกรรมสนุกและสร้างสรรค์อันหลากหลาย รวมทั้งปลูกฝังเยาวชนให้รักษ์ธรรมชาติและเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาโลกร้อนโดยมุ่งให้เยาวชนได้ลงมือปฏิบัติเรียนรู้ด้วยตนเองและประสบการณ์จริง
4.ครงการสุขเลิกเหล้า ไปรษณีย์ไทยจัดทำแสตมป์ส่วนตัว ชุด “ลูกชวนพ่อเลิกเหล้า” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญงดเหล้าเข้าพรรษาให้กับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายร่วมสสทบทุนมูลนิธิเพื่อนหญิงเพื่อช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ได้รับผลกระทบจากผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
รูปแบบการให้บริการแบบต่างๆๆ
ชื่อสินค้าซองจดหมาย (Envelope)
ข้อมูลสินค้าซองจดหมายมีหลายขนาดให้เลือกจัดทำขึ้นเพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการ
ให้แก่ลูกค้าที่ต้องการฝากส่งเอกสารซึ่งซองจดหมายที่จัดทำขึ้นจะมีรูปแบบที่ได้
มาตรฐานมีช่องให้เขียนจ่าหน้าชัดเจนและถูกต้องซึ่งสามารถใช้ได้กับเครื่องคัด
แยกจดหมายอัตโนมัติจึงทำให้จดหมายและเอกสารจัดส่งถึงผู้รับได้อย่างรวดเร็ว
แม่นยำจึงสะดวกและมั่นใจในการฝากส่งทุกครั้ง
สถานที่จำหน่ายที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งเคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์บางแห่งร้านไปรษณีย์ไทยบางแห่ง
รายการ / Item ขนาด / Size ราคา (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
บาท / Price ( Baht)
ซองซี 6 สีขาว
Envelope C6 White
114 x 162 มม./mm. 3 ซองราคา 2.00 บาท
3 piece 2.00 baht
ซองซี 6 ชนิดสี
Envelope C6 color
114 x 162 มม./mm. 1.00
ซองซี 6 ชนิดสีแบบแพค (1 แพคมี 10 ซอง)
Envelope C6 color Pack ( 1 Pack = 10
Envelopes)
114 x 162 มม./mm. 8.00
ซองขนาดดีแอล
Envelope DL
110 x 220 มม./mm. 1.50
ซองอากาศ DL
International Envelope DL
110 x 220 มม./mm. 1.50
ซองซี 5 สีครีม
Envelope C5 Cream-Colored
162 x 229 มม./mm. 3.00
ซองซี 4 สีครีม
Envelope C4 Cream-Colored
229 x 324 มม./mm. 4.00
ซองขยายข้างซี 4
Expended size Envelopes C4
229 x 324 มม./mm. 5.00
ชื่อสินค้ากล่องสำเร็จรูป (Ready - Made Carton)
ข้อมูลสินค้ากล่องสำเร็จรูปมีหลายขนาดและรูปแบบจัดทำขึ้นเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่
ลูกค้าที่ต้องการฝากส่งสิ่งของโดยกล่องทำจากกระดาษลูกฟูกคุณภาพดีและสามารถ
ป้องกันความเสียหายของสิ่งที่ฝากส่ง
สถานที่จำหน่ายที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งเคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์บางแห่งร้านไปรษณีย์ไทยบางแห่ง
รายการ / Item ขนาด / Size ราคา (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
บาท / Price ( Baht)
กล่องสำเร็จรูปแบบก.
Ready-Made Carton type A
14 x 20 x 6 ซม. / cm. 9.00
กล่องสำเร็จรูปแบบข.
Ready-Made Carton type B
17 x 25 x 9 ซม./ cm. 12.00
กล่องสำเร็จรูปแบบค.
Ready-Made Carton type C
20 x 30 x 11 ซม./ cm. 16.00
กล่องสำเร็จรูปแบบง.
Ready-Made Carton type D
22 x 35 x 14 ซม./ cm. 20.00
กล่องสำเร็จรูปแบบจ.
Ready-Made Carton type E
24 x 40 x 17 ซม./ cm. 25.00
กล่องสำเร็จรูปแบบฉ.
Ready-Made Carton type F
30 x 45 x 20 ซม./ cm. 32.00
ชื่อสินค้ากล่องธรรมดา (Normal Carton)
ข้อมูลสินค้ากล่องธรรมดามีหลายขนาดให้เลือกจัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าใน
การฝากส่งสิ่งของโดยกล่องที่จัดทำขึ้นจะใช้กระดาษที่ได้มาตรฐานเพื่อป้องกันสิ่งที่
บรรจุภายในไม่ให้ได้รับความเสียหายระหว่างการขนส่ง
สถานที่จำหน่ายที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งเคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์บางแห่งร้านไปรษณีย์ไทยบางแห่ง
รายการ/Item ขนาด / Size ราคา (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
บาท / Price ( Baht)
กล่องธรรมดาหมายเลข 1
Normal Carton No.1
30 x 100 x 30 ซม./ cm. 35.00
กล่องธรรมดาหมายเลข 2
Normal Carton No.2
31 x 36 x 13 ซม./ cm. 20.00
กล่องธรรมดาหมายเลข 3
Normal Carton No.3
31 x 36 x 26 ซม./ cm. 37.00
กล่องธรรมดาหมายเลข 4
Normal Carton No.4
55 x 100 x 55 ซม./ cm. 80.00
กล่องธรรมดาหมายเลข 5
Normal Carton No.5
40 x 45 x 35 ซม./ cm. 40.00
กล่องธรรมดาหมายเลข 6
Normal Carton No.6
45 x 55 x 40 ซม./ cm. 55.00
ชื่อสินค้าซองกันกระแทก (Padded Envelope)
ข้อมูลสินค้าซองกระดาษที่ด้านในกรุด้วยแผ่นพลาสติกกันกระแทกที่มีเม็ดฟองอากาศซึ่งจะ
ช่วยปกป้องสิ่งของที่ฝากส่งจากการกระทบกระแทกระหว่างการขนส่ง
สถานที่จำหน่ายที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งเคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์บางแห่งร้านไปรษณีย์ไทยบางแห่ง
รายการ / Item ขนาด / Size ราคา (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
บาท / Price ( Baht)
ซองกันกระแทกซี 5
Padded Envelope C5
162 x 229 มม./ mm. 12.00
ซองกันกระแทกซี 4 ชนิดแยกจำหน่าย/
Padded Envelope C4 (Single)
249 x 324 มม./ mm. 17.00
ซองกันกระแทกซี 4 ชนิดจำหน่ายเป็นแพค
(1 แพคเท่ากับ 5 ซอง)
Padded Envelope C4 (Pack) (1 Pack = 5
Envelope)
249 x 324 มม./ mm 80.00
ชื่อสินค้าวัสดุกันกระแทก (Air Bubble Film)
ข้อมูลสินค้าจัดทำด้วยแผ่นพลาสติกกันกระแทกที่มีเม็ดฟองอากาศเพื่อช่วยปกป้องสิ่งของที่
ฝากส่งจากการกระทบกระแทกระหว่างการขนส่ง
สถานที่จำหน่ายที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งเคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์บางแห่งร้านไปรษณีย์ไทยบางแห่ง
รายการ / Item ขนาด / Size ราคา (บาท) / Price (Baht)
วัสดุกันกระแทก (Air Bubble Film ) 650 x 650 มม./mm. 7.00
ชื่อสินค้าตู้รับไปรษณียภัณฑ์ประจำบ้าน (Post Boxes)
ข้อมูลสินค้าตู้รับไปรษณียภัณฑ์ประจำบ้านจัดทำด้วยวัสดุที่มีความคงทนมั่นคงแข็งแรงซึ่ง
จะช่วยทำให้จดหมายหรือเอกสารที่ส่งไม่เกิดการสูญหายหรือเสียหาย
สถานที่จำหน่ายที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งเคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์บางแห่งร้านไปรษณีย์ไทยบางแห่ง
รายการ / Item ขนาด / Size ราคา (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
บาท / Price ( Baht)
ตู้พลาสติก ( Plastic Post Boxes ) 28 x 24 x 12 ซม./cm. 300.00
ตู้โลหะ ( Metal Post Boxes ) 23 x 10 x 34 ซม./cm. 600.00
| |
ข้อมูล | |
ซองที่ไม่ต้องติดแสตมป์และสามารถบรรจุเอกสารในซองได้ไม่จำกัดน้ำหนัก “ซองเดียว 5 บาท ใส่ไม่อั้น” | |
| |
เงื่อนไข | |
- ขนาด C6 | |
| |
สถานที่ | |
ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่ง เคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์และร้านไปรษณีย์ไทยบางแห่ง | |
| |
อัตราค่าบริการ/สินค้า | |
- ซองเดี่ยว ราคาซองละ 5 บาท |
ของที่ระลึก
ชื่อสินค้าตู้ไปรษณีย์กระปุกออมสิน (Postbox Model)
ข้อมูลสินค้าเป็นสินค้าที่แสดงถึงวิวัฒนาการของตู้ไปรษณีย์สำหรับการรับจดหมายจากลูกค้าที่
ต้องการไปส่งถึงผู้รับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันโดยแต่ละตู้จะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่าง
กัน
สถานที่จำหน่ายที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งเคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์บางแห่งร้านไปรษณีย์ไทยบางแห่ง
รายการ / Item ราคา (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) บาท / Price ( Baht)
ตู้ไปรษณีย์กระปุกออมสินพ.ศ. 2426
Postbox AD. 1884
150.00
ตู้ไปรษณีย์กระปุกออมสินพ.ศ. 2454
Postbox AD. 1915
150.00
ตู้ไปรษณีย์กระปุกออมสินพ.ศ. 2469
Postbox AD. 1927
150.00
ตู้ไปรษณีย์กระปุกออมสินพ.ศ. 2496
Postbox AD. 1953
150.00
ตู้ไปรษณีย์กระปุกออมสินพ.ศ. 2514
Postbox AD. 1971
150.00
ตู้ไปรษณีย์กระปุกออมสินพ.ศ. 2516
Postbox AD. 1973
150.00
ตู้ไปรษณีย์กระปุกออมสินพ.ศ. 2520
Postbox AD. 1977
150.00
ชื่อสินค้ารูปปั้นบุรุษไปรษณีย์ (Postman Model)
ข้อมูลสินค้าเป็นสินค้าที่แสดงถึงวิวัฒนาการของบุรุษไปรษณีย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
สถานที่จำหน่ายที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งเคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์บางแห่งร้านไปรษณีย์ไทยบางแห่ง
รายการ / Item ราคา (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) บาท / Price ( Baht)
รูปปั้นบุรุษไปรษณีย์พ.ศ. 2426
Postman AD. 1884
150.00
รูปปั้นบุรุษไปรษณีย์พ.ศ. 2478
Postman AD. 1936
150.00
รูปปั้นบุรุษไปรษณีย์พ.ศ. 2493
Postman AD. 1950
150.00
รูปปั้นบุรุษไปรษณีย์พ.ศ. 2517
Postman AD. 1974
150.00
รูปปั้นบุรุษไปรษณีย์พ.ศ. 2544
Postman AD. 2001
150.00
รูปปั้นบุรุษไปรษณีย์พ.ศ. 2549
Postman AD. 2006
150.00